เซนเซอร์วัดค่าออกซิเจนนั้นจะใช้ในการวัดค่าออกซิเจนในไอเสียเพื่อควบคุมอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับน้ำมันให้อยู่ในอัตราส่วน 14.7 : 1 โดยจะทำงานตลอดเป็นระบบ Close-Loop

ออกซิเจนเซนเซอร์ จะทำงานโดยกำเนิดแรงดันไฟฟ้าในช่วง 0.1-1.1 Volt. แรงดันที่ได้จะเกิดจากการทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในท่อไอเสียกับสารเซอร์โคเนียมในตัวออกซิเจนเซนเซอร์เอง ทั้งนี้ในการทำปฏิกิริยาต้องอาศัยความร้อนเข้ามาช่วยกะตุ้น

ถ้าหากส่วนผสมหนาไป ออกซิเจนในไอเสียมีน้อยหรือไม่มีเลย แรงดันไฟฟ้าจะมากกว่า 0.45 Volt ทาง ECU จะปรับการจ่ายน้ำมันน้อยลง ในขณะเดียวกันถ้าส่วนผสมบางไป ออกซิเจนในไอเสียมีมาก แรงดันไฟฟ้าจะน้อยกว่า 0.45 Volt ทาง ECU จะปรับการจ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น

แต่ว่าเมื่อเรากดคันเร่งมากกว่าครึ่ง หรือไม่ก็เปิดสุด ทาง ECU จะจ่ายน้ำมันโดยไม่สนใจสัญญาณจากเซนเซอร์ออกซิเจนเลย เป็นการทำงานแบบ Open-Loop แทน เพื่อทำการเพิ่มน้ำมันให้อยู่ในอัตราส่วนผสมประมาณ 12.5 : 1 ทีเดียว ฉะนั้นถ้าใครเพิ่มบูสต์แล้วหวังให้ O2 Sensor ปรับชดเชยให้อย่างเดียวนี่ไม่ได้นะครับ ลูกสูบทะลุแน่ๆ

บางท่านคงเคยเห็นออกซิเจนเซนเซอร์มาแล้ว (ขออภัยครับ ไม่มีรูปอ่า) บางอันก็มีสายเดียว บางอันมีตั้ง 3-4 สายแหน่ะ ที่แตกต่างกันก็คือ แบบ 3-4 สายนั้นจะมีตัวทำความร้อนติดมาข้างในด้วยครับ ส่วนแบบสายเดียวไม่มี

เนื่องจาก O2 Sensor นั้นจะทำงานได้ดีในตอนร้อนๆ จึงต้องมีตัวทำความร้อนติดมา โดยแบบ 3-4 สายนั้นถ้าพึ่งติดเครื่องแป๊ปเดียวก็ทำงานแล้วครับ ในขณะที่แบบสายเดียวนั้นก็นานหน่อย เพราะจะใช้ไอเสียนี่แหล่ะเป็นตัวทำความร้อนแทน อย่างเครื่องบล๊อก B ที่เคยเห็นจะใช้แค่แบบสายเดียวกัน ส่วนบล๊อก K จะใช้แบบ 3-4 สายแทน (มี 2 ตัวนะครับ ตรงท่อร่วมไอเสียแต่ละข้าง)

สำหรับรถผมนี่เคยเสียมาแล้ว รถจะมีอาการรอบสวิงๆ เวลาเร่ง สตาร์ทตอนเช้าๆ สักพักรอบจะตก สะดุดๆ พอมาเช็คดูพบว่าคุณเธอทำงานบ้าง ไม่ทำงานบ้าง แถมพอเวลาทำงานกลับบอกว่าส่วนผสมที่กำลังพอดีๆ นั้นหนาเกินไปอีก เพราะฉะนั้นเวลาทำงานรอบเครื่องก็ตก ไม่ทำงานรอบเครื่องก็พุ่ง สาเหตุที่เสียเข้าใจว่าตอนนั้นปะเก็นท่อไอเสียแตก (จากเฮดเดอร์ไปเข้าท่อไอเสียอ่ะครับ) ช่างเล่นใช้ที่เชื่อมตัดตรงแถวๆ นั้น O2 Sensor ที่อยู่ไม่ห่างเท่าไรทนความร้อนที่แผ่มาไม่ไหว เสียชีวิต ไปถามของใหม่เบิกศูนย์ 7 พันกว่าๆ ครับ เอิ้กๆๆ เป็นลม ยังดี FP มีของมือสองแค่พันเดียวเอง